日本茶の楽しみ方

お茶をおいしく飲むためには、お茶の持っている味や香りを十分に引き出すことが大切です。
お茶をおいしく淹れる原理を知って、正しい淹れ方でお茶の味や香りを楽しみましょう。

แต่ละคนอาจชอบรสชาติของชาที่ต่างกันไป บ้างก็ชอบรสเข้ม บางก็ชอบรสอ่อนนุ่ม เพื่อชงชาให้ได้รสชาติที่ตนชอบ ควรทำความเข้าใจกับสารอาหารที่ทำให้เกิดรสชาติใน ใบชาเสียก่อน

お茶の味を決める成分
สารอาหารที่ทำให้เกิดรสชาติในใบชา

日本茶は、「うま味」を重視するアミノ酸志向のお茶です。そのため、①うま味成分であるアミノ酸を溶出させる、②渋み・苦み成分であるタンニン・カフェインの溶出を抑える、ことが大切です。上級煎茶などでは、低めの温度で淹れることでタンニンやカフェインを抑えることができます。

成分
ชนิดของสารอาหาร

รสชาติ
カテキン
กลุ่มสารแคททีชิน (catechin)
EGC, EC
EGCg, ECg
渋みと苦み
รสฝาด และขม
カフェイン
คาเฟอีน (caffeine)
苦み
รสขม
アミノ酸
กรดอะมิโน (amino acid)
甘みとうま味
รสหวาน รสกลมกล่อม(Umami)
遊離還元糖
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (free sugar)
甘み
รสหวาน
ビタミンC
วิตามิน ซี (ascorbic acid)
酸味
รสเปรี้ยว
サポニン
ซับโพนิน(suponins)
えぐ味
รสเฝื่อน
ペクチン
แพคทิน (pectin)
他の味を引き立てる成分
ไม่ออกรส แต่จะช่วยเสริมความเข้มข้น

กลุ่มสารแคททีชิน EGCg และ ECg จะไม่ละลายออกมาในน้ำเย็น ส่วน EGC และ EC กับสารคาเฟอีนนั้นจะละลายออกมาในน้ำเย็น เมื่อใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกลุ่มสารแคททีชินทุกตัวและสารคาเฟอีนจะละลายออกมามากขึ้น ในขณะที่ EGC, EC จะใช้เวลาในการละลายตัวอย่างช้าๆ ส่วนสารคาเฟอีนจะละลายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นน้ำชาจึงมีรสฝาดขมมากขึ้นเมื่อใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิสูง หรือหากใบชาแช่น้ำร้อนอยู่นาน ส่วนกรดอะมิโนที่ให้รสหวาน รสกลมกล่อม(Umami)นั้นจะละลายออกมาได้ง่ายเมื่ออยู่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำในระยะเวลาสั้น ดังนั้นหากต้องการน้ำชาที่ไม่ฝาดขมมีรสชาติหวานกลมกล่อม ควรชงน้ำชาด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 80องศาเซลเซียส แต่หากต้องการน้ำชาที่มีรสฝาดขมเข้มขึ้น ควรใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือใช้ระยะเวลาแช่น้ำร้อนในกาชาให้นานมากขึ้น

日本茶のおいしい淹れ方
วิธีการชงเซนชา และฟุคะมูชิเซนชาให้อร่อย

お茶をおいしく淹れるには、茶の種類と淹れる人数に応じて、茶の量、湯の温度、湯の量、浸出時間、適温を考慮します。

สิ่งสำคัญในการชงชาให้อร่อยอยู่ที่ปริมาณน้ำ ปริมาณใบชา อุณหภูมิน้ำร้อนที่ใช้ และระยะเวลาที่แช่น้ำร้อนในกา และที่สำคัญที่สุดควรต้มน้ำให้เดือดเพื่อขับกลิ่นคลอรีน และปรับสภาพกระด้างของน้ำให้อ่อนตัวลง

淹れ方の手順 ลำดับการชงชาเขียวญี่ปุ่น

1 人数分のお湯を湯冷ましや湯のみに注いで冷まします。

1 เทน้ำร้อนจากกระติกน้ำร้อนลงในแก้วชา(120cc.) ตามจำนวนคน (การเทน้ำแต่ละอุณหภูมิน้ำจะลดลง 5-10องศา)

2 茶葉を急須に入れます。一杯あたり小さじ1さじを入れます。

2 ตักใบชาใส่ลงในกาชา 3ช้อนชา (ชาปริมาณ 1ช้อนชาต่อหนึ่งแก้ว)

3 湯のみで冷ましたお湯を急須に入れ、1分待ちます。

3 เทน้ำร้อนลงในกาชา แช่ไว้ประมาณ 1นาที (อุณหภูมิน้ำประมาณ 70-80องศา)

4 1-2-3、3-2-1の順に少しずつ廻し注ぎをします。最後の一滴までしっかり注ぎます。

4 เทน้ำชาทีละน้อยลงในแก้ว ตามลำดับ 1-2-3 แล้วเทวนกลับแก้วที่ 3-2-1 เพื่อให้น้ำชาที่ได้มีความเข้มข้นและรสชาติกลมกล่อมเท่ากันทุกแก้ว เทหมดจนหยดสุดท้าย

おいしく淹れるポイント ข้อควรระวังในการชงชา

∴ お茶をおいしく淹れるには、茶葉の量、湯の量、湯の温度、浸出時間が大切です。茶の種類と人数により調整します。

ปริมาณของชา อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ และระยะเวลาที่ใส่น้ำร้อนลงไปในกาชา จะมีผลต่อการละลายสารอาหารที่อยู่ในใบชา ดังนั้นการชงให้อร่อยควรปฏิบัติตามวิธีการชงชาดังนี้

∴ 煎茶の場合、一煎目は90度以下のぬるめのお湯で淹れ、抽出時間が長くならないよう1分程度で淹れます。

การใส่น้ำเดือดหรือน้ำที่ร้อนเกินกว่า 90 องศา หรือปล่อยแช่น้ำร้อนในกานานเกินไป จะทำให้แทนนีนและคาเฟอีนที่อยู่ในชาละลายออกมามาก ทำให้น้ำชาที่ได้มีรสฝาดและขม

∴ 2煎目からは、90度程度のお湯を注ぎ、10秒程度の抽出時間で淹れます。

การชงชาน้ำที่สอง น้ำที่สาม ควรใช้น้ำร้อนกว่าน้ำแรก (ประมาณ 90 องศา) โดยเทน้ำร้อน ลงในกาน้ำชาทิ้งไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วรินน้ำชาลงในแก้วน้ำชา

∴ 茶葉1回分で3~4回淹れることができます。

ใบชาที่ใช้แต่ละครั้งสามารถใส่น้ำร้อนชงได้ 3-4 ครั้ง

お茶の種類と淹れ方 วิธีชงชาประเภทต่างๆ

煎茶/深蒸し煎茶
เซนชา/ฟุคะมูชิเซนชา
番茶/焙じ茶/玄米茶
บังชา/โฮจิชา/เกนไมชา
茶葉の量(グラム)
จำนวนชาที่ใส่ (กรัม)
1杯につき1匙
2-3 กรัม (1ช้อนชา)ต่อ1แก้ว
1杯につき多めの1匙
3 กรัม (1ช้อนชาพูน)ต่อ1แก้ว
湯の温度(℃)
อุณหภูมิน้ำร้อนที่ใส่(องศาเซลเซียส)
70-80 90
湯の量(ml)
ปริมาณน้ำร้อนที่ใส่ (มิลลิลิตร)
100-120 130-150
抽出時間(秒)
ระยะเวลาที่ใส่น้ำร้อนในกาชา(วินาที)
60(1นาที) 30

日本茶のTPOについて
ชาเขียวกับกิจวัตรประจำวัน

飲む状況や気分に合わせて、お茶を選び、淹れ方や飲み方にもこだわれば、お茶との暮らしが楽しくなります。

การเลือกดื่มชาเขียวให้เหมาะกับกิจวัตรประจำวัน เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในชาเขียวอย่างเหมาะสม ตามความต้องการหรือสภาพร่างกายของเราด้วย

お仕事や勉強のとき:熱めのお湯で煎茶を淹れましょう。

ช่วงเวลาทำงาน ระหว่างการประชุม หรือเตรียมตัวสอบ เมื่อต้องการกระตุ้นการทำงานของสมอง คาเฟอีนในชาจะช่วยกระตุ้นสมอง ทำให้ตาสว่าง ในช่วงนี้ควรดื่ม “เซนชา” หรือ “ฟุคะมูชิเซนชา” ที่ชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูงประมาณ 90 องศา การชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูง จะทำให้คาเฟอีนละลายออกมามาก ชาจะมีรสขมมากขึ้น แต่จะช่วยออกฤทธิ์ทำให้ตาสว่างได้ดีทีเดียว

スポーツや力仕事をするとき:上級煎茶を熱めのお湯に入れ、開始20-30分前に飲む。

เมื่อต้องการออกแรงหรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงมาก ก่อนเล่นกีฬาหรือใช้แรงประมาณ 20-30 นาที และในระหว่างออกกำลังกายทุกๆ 30 นาที ควรดื่ม “เซนชา” หรือ “ฟุคะมูชิเซนชา” ที่ชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูงประมาณ 90 องศา เพราะคาแฟอีนที่ออกมามากจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ

酔いを醒ましたいとき:熱めのお湯で煎茶を飲みましょう。酔いが早く醒めます。

เมื่อเมาค้าง หรือต้องการสร่างจากฤทธิ์สุรา คาเฟอีนจะช่วยในการขับแอลกอฮอลที่ค้างอยู่ในเลือดออกมาได้เร็วขึ้น ควรดื่ม “เซนชา” หรือ “ฟุคะมูชิเซนชา” ที่ชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูงประมาณ 90 องศา ที่ญี่ปุ่นคนที่เมาค้างมักจะดื่มชาพร้อมกับรับประทานขนมหวานที่มีใส้ถั่วบด เพราะในถั่วบดมีสารพวกซับโพนิน และโปตัสเซียม ที่ช่วยเสริมให้การขับแอลกอฮอลออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

空腹のとき:薄く淹れたお茶を飲みましょう。

ในช่วงท้องว่าง หรือช่วงรับประทานอาหาร ควรดื่ม “โฮจิชา” หรือ “บังชา” หรือ “เซนชา”ที่ชงอย่างเจือจาง เพราะการดื่มน้ำชาที่ชงด้วยน้ำร้อน หรือดื่มน้ำชาที่ชงอย่างเข้มข้นในช่วงที่ท้องว่างจะทำให้คาเฟอีนและแคททีซีนที่มีอยู่มาก ไปละลายเยื่อเคลือบกระเพาะ

油ものや高カロリの食事のとき:煎茶や番茶を熱いお湯で濃いめに淹れる。

สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอลไม่ให้สูง หรือเวลารับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลอรีสูงหรือมีไขมันมาก ควรดื่ม “เซนชา” หรือ “บังชา” ที่ชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูง เพราะแคททีซีนจะละลายออกมามาก และช่วยควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล

リラックスしたいとき:上級煎茶や深蒸し煎茶をぬるめのお湯で

เมื่อต้องการพักผ่อน หรือผ่อนคลายความเครียด ควรดื่ม “เซนชา” หรือ “ฟุคะมูชิเซนชา” ที่ชงด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ประมาณ 60-70 องศา เพราะทีนีนที่ออกมามากจะช่วยให้เซลสมองผ่อนคลาย

寝る前、子供やお年寄りに:カフェインの少ない焙じ茶や番茶を

สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่อ่อนต่อฤทธิ์คาเฟอีน หรือเวลาต้องการดื่มตอนก่อนนอน ควรดื่ม “โฮจิชา” เพราะไม่มีสารคาเฟอีน หรือดื่ม “บังชา” หรือ “เซนชาที่ชงอย่างเจือจาง” เพราะจะมีปริมาณคาเฟอีนที่น้อย

タイの方向け 日本茶との付き合い方・楽しみ方
การดื่มชาเขียวญี่ปุ่นกับวิถีชีวิตของคนไทย

タイの方にとって、本格的な日本茶について、付き合い方や楽しみ方がわからず、戸惑いを感じることがあるかと存じます。正しい淹れ方のコツと多少の知識を知ることで、タイの方でも日本茶がずっと身近になるはずです。日本の食事や飲み物は、素材の持つ自然の味を活かし“うま味”を感じることができます。タイにおける日本茶の楽しみ方を提案します。

หลายท่านอาจคิดว่าการชงชาเขียวญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไกลตัว ต้องลงทุนซื้อกาชา ซึ่งมีราคาแพง หรือต้องซื้อขนมราคาแพงจากร้านดังมารับประทานกับชาเขียวที่ต้องการดื่ม อีกทั้งยังมีพิธีรีตองต่างๆมากมาย การชงชาเขียวญี่ปุ่นฟังดูแล้วคงจะเป็นแบบญี่ปุ่น การนำมาปรับใช้คงยากลำบาก เมืองไทยเป็นเมืองร้อน จะดื่มชาร้อนๆ เหมือนญี่ปุ่นได้อย่างไร อีกทั้งแต่ละวันก็ยุ่งกับการทำงาน คงไม่มีเวลาในการสนุกเพลิดเพลินกับการดื่มชาหรอก คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกคนจะคิดเช่นนั้น.. แต่เมื่อศึกษาลึกลงไปจะพบว่า คนญี่ปุ่นโบราณจะเน้นการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้เข้ากับธรรมชาติ ดังนั้นอาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเลือกสรรวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ ไม่ดัดแปลงมากนัก จึงมีคำศัพท์เฉพาะในการอธิบายรสชาติของอาหาร และเครื่องดื่ม ว่า “อุมามิ” ซึ่งหมายถึง รสชาติที่อร่อยเป็นธรรมชาติของวัถตุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารนั้น
ชาเขียวญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน เน้นการผลิตเพื่อให้ได้รสชาติที่เป็นธรรมชาติ อาหารและขนมที่ผลิตขึ้นมาทานกับชาเขียว ส่วนใหญ่จะทำมาจากส่วนประกอบวัตถุดิบเครื่องปรุงที่ปลูกในบ้าน ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ทานกับชาเขียวจะเป็นโมจิ ที่ทำมาจากข้าวเหนียวญี่ปุ่น ถั่วแดง หรือนำผักที่ปลูกในสวนมาหมัก ต้มหรือนึ่งทานกับชาเขียว หรืออาจเป็นผลไม้ที่เก็บได้จากในสวน
การเลือกขนมหรืออาหารที่ทานให้ถูกกับประเภทของชาเขียว มีส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมให้รสชาติของชาเขียว หรือรสชาติของอาหารนั้นอร่อยมากขึ้น
จึงขอแนะนำการเลือกอาหารให้ถูกกับประเภทชาเขียวดังนี้

1 煮物や焼き物、においがきつくない食事やくだものに日本茶が合います。

1 อาหารจำพวกต้ม นึ่ง ย่าง ที่ไม่มีกลิ่นแรง ไม่เผ็ด และไม่ใช้นำมันในการประกอบอาหาร ควรทานกับ เซนชา ฟุคะมูชิเซนชา เพราะชากลุ่มนี้จะมีรสชาติเป็นธรรมชาติ ออกรสหวาน และมีกลิ่นหอม

2 油ものには、玄米茶や焙じ茶、番茶を合わせます。

2 อาหารที่มีไขมันสูง มีส่วนประกอบของน้ำมัน นม เนย ควรทานกับบังชา โฮจิชา เกนไมชา ที่ชงด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศา เนื่องจากชากลุ่มนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะ และจะช่วยชะล้างไขมันที่ติดอยู่ในช่องคอ ทำให้รู้สึกไม่เลียน

3 においがきついもの、濃い味の食事に日本茶は合わせにくいです。

3 อาหารที่มีรสจัด กลิ่นแรง ไม่เหมาะกับการรับประทานกับชาเขียว เพราะจะไม่สามารถรู้รสและกลิ่นที่แท้จริงของชาเขียวชนิดนั้นๆ

4 タイの甘いお菓子には、煎茶や深蒸し煎茶を濃いめに淹れて合わせます。

4 ขนมไทยที่มีรสหวานเช่นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองต่างๆ ทานกับชาเขียวพวกเซนชา ฟุคะมูชิเซนชา บังชา แคททีซีนในชาเขียวก็จะช่วยยับยั้งการสร้างเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ไม่ให้มาก ทำให้ร่างกายไม่ย่อยและซึมซับน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป เหมาะมากสำหรับผู้ที่ชอบทานขนมหวาน แต่กลัวอ้วน
หากรู้จักประเภทของชาเขียวแล้ว ก็จะสามารถชงชาได้อร่อย และค่อยๆเพลิดเพลินกับการดื่มชามากขึ้น ควรเริ่มจากการชงชาด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้าน ทานกับขนมหรืออาหารธรรมชาติตามวิถีไทย จะทำให้เรามีความสุขเพลิดเพลินกับการดื่มชาเขียวมากขึ้น