2014.01.03
日本のお正月
ประเพณีปีใหม่ของญี่ปุ่น
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ซากูระจิม่าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย คุ้มครองทุกท่านให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากภัยภยันตรายทั้งปวงด้วยเทอญ
เทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่นเป็นช่วงวันหยุดที่ยาวที่สุดของปี หยุดตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคมถึง 3 มกราคมของทุกปี ผู้คนส่วนใหญ่จะพาครอบครัวกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของตน ปีใหม่เป็นช่วงที่คนญี่ปุ่นจะไหว้เทพเจ้าแห่งปี “โตชิกามิ” อันได้แก่เทพเจ้าแห่งธัญพืช และวิญญาณบรรพบุรุษผู้ปกป้องรักษา
ก่อนขึ้นปีใหม่ทุกครอบครัว ร้านค้า บริษัทจะทำความสะอาดบ้าน ร้านค้า บริษัทของตน จะประดับหน้าบ้านด้วย “คาโดะมัสทึ” หรือกระบอกไม้ไผ่ที่ประดับด้วยใบสนตั้งไว้หน้าประตูบ้าน ติด “ชิเมะคาซาริ” ที่ประดับด้วยใบเฟิร์นเป็นเครื่องหมายติดตรงประตู เพื่ออัญเชิญให้เทพเจ้าแห่งปี เข้ามาเยี่ยมเยือนบ้านของตน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความโชคดีในปีนั้น และจะถวายข้าวเหนียวปั้น หรือที่เรียกว่า “คากามิโมจิ” ให้แก่เทพเจ้าแห่งปีที่มาเยือน ของประดับทุกอย่างที่ใช้ล้วนมีความหมาย
ก่อนขึ้นปีใหม่ทุกบ้านจะเตรียมวัตถุดิบทำอาหารที่เรียกว่า “โอเซฉิเรียวริ” โดยเลือกวัตถุดิบที่มีชื่อและรูปร่างลักษณะที่เป็นมงคล ทำเป็นอาหารและบรรจุลงในกล่อง สำหรับรับประทานในช่วงสองสามวันแรกของปีใหม่ เพื่อให้แม่บ้านหรือคนทำกับข้าวได้พัก โดยทำเป็นอาหารที่ไม่ต้องอุ่น และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานหลายวัน
อาหารที่ใส่เช่น “นิชิเมะ หรือผักหัวหลายชนิดที่ต้มรวมกัน” หมายถึง สมาชิกครอบครัวทุกคนอยู่รวมปองดองกันอย่างมีความสุข “กุ้ง” หมายถึง การมีอายุยืนยาวจนหลังโกงงอเหมือนกุ้ง “ถั่วดำ” หมายถึง การมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ “คาซึโนะโคะ” หรือไข่ปลาเฮริง ไข่ปลาสีเหลืองซึ่งฟองไข่อัดกันแน่น หมายถึง การทำให้มีลูกง่าย ลูกดก “คูริคินโทน” หรือ เกาลัดบดที่มีสีออกทอง หมายถึง การมีเงินทองใช้ตลอดปี เป็นต้น
วันที่ 31 ธันวาคมหรือวันสุดท้ายของปี คนญี่ปุ่นจะรับประทานโซบะที่เรียกว่า “โตชิโคชิโซบะ” ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้มีอายุยืนยาวเหมือนเส้นโซบะซึ่งเรียวเล็กยาว เมื่อขึ้นวันปีใหม่คนญี่ปุ่นจะนำเอา “โอเซฉิเรียวริ” ที่เตรียมไว้ออกมารับประทานพร้อมกับเหล้าสาเก และน้ำซุบ “โซนิ” หรือซุบที่ใส่โมจิที่ใช้ถวายเทพเจ้าแห่งปี เพราะเชื่อว่า การรับประทานโมจิที่ถวายแล้ว จะได้รับพลังและความโชคดีจากเทพเจ้าแห่งปี
วันแรกของปีใหม่ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไปวัดชินโต เพื่อขอพรกับเทพเจ้าที่วัด ให้ปกป้องคุ้มครองจากภัยภยันตราย ขอให้เป็นปีที่ดี และเป็นปีที่มีความสุข
ที่สำคัญเช้าวันปีใหม่จะเป็นวันที่เด็กๆ ดูจะตื่นเต้นกับการได้รับ “โอโตชิดามะ” หรือซองเงินที่ผู้ใหญ่จะเตรียมเอาไว้เพื่อรับขวัญวันปีใหม่
รู้สึกว่าปีใหม่ญี่ปุ่นก็คล้ายๆ กับปีใหม่หรือสงกรานต์บ้านเรา ตรงที่คนไทยส่วนใหญ่ก็จะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด พ่อ แม่ ทำความสะอาดบ้าน เตรียมอาหารไปทำบุญที่วัด อาบน้ำสรงน้ำพระ ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว และการได้รับ “โอโตชิดามะ” ของเด็กๆ ก็เหมือนกับการได้รับ “อังเปา” ของคนจีนอย่างไงอย่างงั้น
明けましておめでとうございます
今年も良い年になりますように!
日本の年末年始は、多くの会社などで5〜6日程度の休みとなります。日本の正月は、年神を迎える儀式で、年神には穀物の神や祖先の霊とも言われています。
正月を迎えるために、年末には大掃除をしたり門松を飾ったり、しめ飾りを玄関に飾って、神様を迎え入れ、新年の幸せを願います。鏡もちを準備して、家の中に供えます。
大晦日におせち料理を準備して、新年を迎えます。おせち料理は、縁起のよいものをお重につめ、だいたい2〜3日分の料理を準備します。お母さん方が正月に食事の準備をしなくてもすむように長持ちをする料理をつめています。
煮しめは、数種類の野菜を煮込んだ料理で、「家族がみんな仲良く結ばれる」という意味です。エビは、「腰が曲がるまで長生きする」という意味があり、黒豆は、「健康に暮らせるよう」に願いをこめています。数の子は、卵が多いことから、子孫が繁栄するという意味があります。栗きんとんは、金運を表し、豊かな1年を願います。
12月31日は、年越しそばを食べて、そばのように長く生きることを願います。正月を迎えるとおせち料理を出して、お酒と雑煮を準備して一緒に食べます。お雑煮には、年神に供えたもちを食べ、神様の力を授かるという意味があります。正月にはほとんどの人が、神社に初詣にいきます。新年の幸せを願って参拝します。
正月は、子供がとてもわくわくする日です。それは、大人が準備したお年玉を貰えるからです。
日本の正月は、タイの正月と似ているように思います。タイでも自分の実家に帰って、家や仏壇を掃除して、お寺に持っていく料理を準備します。正月は家族と過ごす時間ですね。お年玉は、中国系タイ人の“アンパオ”にも似ています。