お知らせ

2013.02.05

山間地のお茶と平場のお茶の違い
ชาเขียวบนเขากับชาเขียวบนที่ราบนั้นต่างกัน

ชาเขียวบนเขากับชาเขียวบนที่ราบนั้นต่างกัน

お茶は、植える場所によって同じ品種でも色・味・香りが異なります。それがお茶の魅力でもあります。鹿児島は山間地と平場の両方でお茶が栽培されています。それによって、いろいろな味や香りが味わえる産地といる特徴があります。

山間地と平場、それぞれのお茶の特性についてご紹介します。

 ชาเขียวที่ปลูกในสถานที่ต่างกัน สี กลิ่น และรสชาติของน้ำชาที่ได้จะต่างกัน  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชาเขียว  จังหวัดคาโกชิมามีสภาพภูมิประเทศทั้งเป็นที่ราบใกล้ทะเล และเป็นภูเขา  ทำให้มีความหลากหลายในการเลือกบริโภค ลองมาดูกันซิว่าชาเขียวที่ปลูกในที่ราบกับบนเขานั้น  มีลักษณะโดดเด่นแตกต่างกันอย่างไร

さつま茶<熊田製茶>のお茶は山間地のお茶で、香りが高く、渋みが少なく、水色は黄緑色です。

山間地の特徴は、朝晩に霧があって、日照時間が短く木の陰もあり、気温が低く昼と夜の温度差が大きいことです。

山間地では、新芽の生長が遅く、摘み取り時期が遅くなります。茶芽がゆっくり生長するので、うまみ成分がしっかり生成されます。また、山間地特有の「山の香り」も感じることができます。

次回は、平場のお茶についてお話しします。

  “ซาทึมาชา” จาก “ไร่ชาคูมะดะ” ชาเขียวที่ปลูกบนเขา มีจุดเด่นอยู่ที่ความมีกลิ่นหอม  รสขมและฝาดจะอ่อน น้ำชามีสีเหลืองเขียว เนื่องจากบนเขา ช่วงเช้าและเย็นจะมีหมอกลง  ช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงแดดสั้น  และมีเงาต้นไม้อื่นข้างเคียงบดบังแสงแดด อุณหภูมิต่ำกว่าในที่ราบ  อีกทั้งอุณหภูมิในกลางวันกับกลางคืนจะแตกต่างกันมาก 

 ด้วยเหตุดังกล่าว การเจริญเติบโตของต้นชาจะช้า  การแตกยอดใบอ่อนจะใช้เวลานาน  ทำให้มีเวลาสะสมสารอาหารต่างๆในใบได้มาก  ช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงสั้นและมีเงาต้นไม้อื่นบดบัง  ทำให้ชาเขียวที่ได้มีปริมาณแคททีซีนน้อย ดังนั้นความขมและฝาดก็จะน้อยด้วย  แต่จะมีกรดอะมิโนมาก มีรสชาติหวาน ที่สำคัญชาเขียวที่ปลูกบนเขาจะมีกลิ่นหอมที่เรียกว่า “กลิ่นภูเขา” ทำให้ชามีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษนั้นเอง  

คราวต่อไปคุยกันต่อถึงชาเขียวที่ปลูกบนที่ราบนะคะ