お知らせ

2013.05.11

“鹿児島の新茶”が出ました。
“ชินชา” หรือชาใหม่ออกมาแล้ว

 “ชินชา” หรือชาใหม่ออกมาแล้ว

  ชินชาหรือชาเขียวใหม่รุ่นแรกของปีของจังหวัดคาโกชิมาเริ่มออกมาแล้ว ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน  เริ่มตัดเป็นแหล่งแรกของประเทศญี่ปุ่น  เป็นช่วงที่ชาวไร่ชาจะยุ่งมาก  ตั้งแต่ตัดยอดใบชา แล้วรีบนำมาอบนึ่งทันที  จนเสร็จทุกขั้นตอน  ช่วงเช้าตัดยอดชา  ช่วงบ่ายก็เริ่มขั้นตอนอบนึ่งไอน้ำในโรงงาน  กว่าจะเสร็จงานก็ประมาณตี 1  ตี 2 ของอีกวัน

  การตัดชาจะมีการนับวัน ตรวจดูใบ เหมือนกับการเก็บผลไม้นั่นแหละค่ะ  มีช่วงสุกหรือช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการตัดใบชา  ซึ่งใบจะมีรสข้น กลิ่นหอม คุณภาพสูงที่สุด  หากเกินช่วงที่สุกไปเพียงไม่กี่วัน  ก็จะทำให้คุณภาพด้อยและราคาตกลงได้  นอกจากนี้การอบชาในโรงงานก็สำคัญมากด้วย  เมื่อตัดเสร็จแล้วก็ต้องรีบอบทันที  จะปล่อยไว้ไม่ได้  เพราะจะทำให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและคุณภาพด้อยลงไปอีก  การอบนึ่งไอน้ำด้วยเครื่องจักรก็จริง  แต่ต้องตรวจดูความชื้นในใบชา ด้วยการสัมผัสใบชาด้วยมือ หรือประสบการณ์ความเคยชิน  จุดปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก ที่จะเสริมช่วยทำให้ชาออกรสชาติที่เด่นมากขึ้น  ใบชาที่ใช้ไฟอ่อนเกินไป ความชื้นหลงเหลืออยู่ในใบชามากจะได้รสชาติที่อ่อนหรือได้กลิ่นใบชาดิบ  แต่หากใช้ไฟแรงมากใบชาก็จะกรอบรสชาติหวานจะลดลง  เหล่านี้คือประสบการณ์ และความสามารถที่แตกต่าง  ซึ่งแต่ละไร่จะถือเป็นความลับที่ไม่อยากจะบอกใครค่ะ

 

 4月中旬から新茶の刈り取りが始まり、茶農家のみなさんが最も忙しい季節になりました。茶農家は朝早くから茶を刈り取り、その日のうちに加工するので、夜遅くまで工場で働きます。

 茶農家は、葉の色や厚さを見て刈り取りの適期を判断します。果物のように一番おいしい熟期を見極めます。熟期では、味や香りのよいお茶ができますが、熟期を逃すと品質が低下します。

 刈り取った茶葉は工場に運ばれて加工します。自動化が進んでいますが、茶葉の状況を見極めて加工の温度や時間を調整するには熟練が必要です。火入れが弱いと青臭く、火入れが強いと乾燥して味が失われます。

 農家はそれぞれの茶作りがあり、工場での加工技術も他の人には言わない秘伝があるようです。