お知らせ

2013.05.06

こどもの日
“วันเด็กผู้ชายของญี่ปุ่น “โคโดโมะโนะฮิ” Kodomonohi

“วันเด็กผู้ชายของญี่ปุ่น “โคโดโมะโนะฮิ” Kodomonohi

  วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันเด็กผู้ชายของญี่ปุ่น” หรือ “โคโดโมะโนะฮิ” เริ่มตั้งแต่สมัยนารา ช่วงค.ศ.710-784  จักรพรรดิญี่ปุ่นได้จัดงาน “พิธีฉลองรับขวัญเด็กผู้ชาย” เรียกว่า “ทังโกโนะเซคคุ”「端午の節句」หรือวันเด็กผู้ชายในบริเวณราชวัง  ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้เด็กชายนั้นมีสุขภาพแข็งแรง แข็งแกร่ง และเจริญเติบโตทั้งสุขภาพ และหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไป  ตั้งแต่นั้นจึงถือเป็นงานประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาทุกปี

  พิธีงานฉลองต่างๆ ของจักรพรรดิญี่ปุ่นมี 5 ครั้ง โดยยึดเอาช่วงฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง    นอกจากงานพิธีรับขวัญเด็กชายในวันที่ 5 เดือน 5 (พฤษภาคม) แล้ว ก็มีงานพิธี “นานาคูซะ” ในช่วงเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ วันที่ 1 เดือน 1(มกราคม) ซึ่งรับประทานหญ้า 7 ชนิดในฤดูใบไม้ผลิ   งาน “ฮินะมาทึริ” หรืองานฉลองรับขวัญเด็กผู้หญิง ในช่วงดอกท้อบานวันที่ 3 เดือน 3 (มีนาคม)  และงาน “ทานาบาตะ” ในช่วงฤดูร้อนวันที่ 7 เดือน 7 (กรกฎาคม)  และสุดท้ายคืองานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงวันที่ 9 เดือน 9 ของทุกปี  ซึ่งยังคงสืบทอดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ 

  “พิธีฉลองรับขวัญเด็กผู้ชาย” นั้น  บ้านที่มีลูกผู้ชายจะปักธงรูปปลาไนหรือ “โคอิโนโบริ”  และนำ “คาบูโตะ” หรือหมวกเกราะที่ใช้สวมตอนออกรบของซามูไรในสมัยก่อนออกมาตั้ง  โดยการนำ “คาบูโตะ” มาตั้งวางนั้นเริ่มขึ้นมาก่อนตั้งแต่สมัยคามาคูระ (ค.ศ.1185-1333) ซึ่งเชื่อว่าเกราะหุ้มคาบูโตะนั้นที่ช่วยปกป้องให้เด็กชายนั้นแข็งแรงปลอดภัย   ต่อมาเริ่มมีแนวคิดที่ติดธงรูปปลาไนขึ้นในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) โคอิโนโบรินั้นปลาตัวเล็กจะอยู่ข้างล่าง และมีขนาดใหญ่ขึ้น สีสรรสดสวยขึ้นตามลำดับ  ปลาตัวบนสุดจะมีขนาดใหญ่และสวยมากที่สุด  ซึ่งบางคนก็กล่าวกันว่าเป็น “มังกร”  ลำดับการจัดเรียงธงนั้นเชื่อกันว่า  จะทำให้ชีวิตของเด็กชายผู้นั้นเจริญเติบโตขึ้นด้วยความแข็งแกร่งทั้งร่างกาย จิตใจ และมีหน้าที่การงานที่ดี เป็นใหญ่เป็นโตในอนาคต

  ในวันรับขวัญเด็กผู้ชายนี้  ในแถบคันโตหรือแถบตะวันออกของญี่ปุ่น จังหวัดโตเกียว และจังหวัดต่างๆใกล้เคียง แม่และผู้ใหญ่ในบ้านจะทำขนมที่ทำจากข้าวเหนียวเรียกว่า “คาชิวะโมจิ” ให้เด็กรับประทาน  ส่วนแถบคันไซ หรือแถบตะวันตกของญี่ปุ่น บริเวณจังหวัดเกียวโต โอซาก้า และจังหวัดใกล้เคียงจะทำขนมที่ทำจากข้าวเหนียว เรียกว่า “ฉิมาคิ”

  ด้วยพื้นฐานสังคมซามูไรของญี่ปุ่น  ที่ลูกผู้ชายต้องทำหน้าที่สืบทอดนามสกุล  การนำครอบครัวให้อยู่รอดและเจริญก้าวหน้า  จึงเป็นที่มาของความสำคัญของคำว่า “ครอบครัว” และการให้ความสำคัญกับเด็กไม่ว่าชายหรือหญิง

 5月5日は「こどもの日」の祝日です。もともと5月5日は「端午の節句」として男の子の健康と成長を願うお祝いの日であったのですが、それを祝日として国民の休日にしています。

 「端午の節句」はもともと宮中行事の5節句のうちのひとつで、5節句には、5月5日の他、1月7日、3月3日、7月7日、9月9日があります。節句は3月3日のひな祭り、7月7日の七夕まつりなど、現代の日本人の生活にも広く取り入れられています。

 「端午の節句」では、鯉のぼりを立て、かぶとを飾るのが一般的です。かぶとには、男の子の身を守るという意味が込められており、鯉のぼりは男の子の立身出世を祈願しています。かぶとと飾るようになったのは鎌倉時代からで、その頃から端午の節句を男の子のお祝いの日とするようになりました。また、鯉のぼりをたてるようになったのは、江戸時代になって庶民にも端午の節句が普及し始めてからです。

 また、柏餅やちまきを食べる風習もあり、それぞれ縁起物として意味が込められています。

一覧

2022.05.26
オンライン鹿児島茶 お茶教室
คลาสชงชาเขียวญี่ปุ่นออนไลน์

2020.09.17
玉緑茶 
ทามะเรียวคุชา

2020.08.27
お茶は健康機能食品
สารอาหารในใบชา

2017.10.11
玉露の美味しい淹れ方
วิธีการชงเกียวคุโระให้อร่อยง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

2016.09.01
玉露と煎茶はどう違う
ชาเขียวญี่ปุ่น “เกียวคุโระ” 玉露 กับ “เซนชา” 煎茶 ต่างกันอย่างไร

2016.08.30
2016年9月7−10日Food & Hotel Thailand 2016で美味しい茶といろんな種類のお茶をお楽しみください。
วันที่ 7-10 กันยายน พ.ศ.2559นี้ เชิญพบชาเขียวคุณภาพเยี่ยม ในงานอาหาร และเครื่องดื่มคุณภาพเยี่ยมในงาน Food & Hotel Thailand 2016 ที่ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

2016.06.21
THAIFEX – World of Food Asia 2016で皆様にお会いでき、大変嬉しく思います。
ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชิม ลิมลองชาเขียวรสชาติใหม่ ชาเขียวหลายหลากสายพันธุ์ในงาน THAIFEX – World of Food Asia 2016

2016.05.22
THAIFEX – World of Food Asia 2016で美味しい新茶といろんな品種のお茶をお楽しみください。
เชิญลิ้มลองชาเขียวสดใหม่ กับชาเขียวหลากสายพันธุ์ในงาน THAIFEX – World of Food Asia 2016

< Previous 1234567 Next >