2013.03.04
ひな祭り
“ฮินะมัสทึริ” Hinamatsuri
“ฮินะมัสทึริ” วันที่ 3 มีนาคมของทุกปี ที่ญี่ปุ่นครอบครัวที่มีลูกสาวจะนำตุ๊กตาชาย “โอบินะ” และตุ๊กตาหญิง “เมบินะ” ออกมาประดับ วางขนม “ฮิชิโมจิ” และ “ดอกท้อ” ใส่แจกันถวายไว้ข้างๆ เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งช่วยป้องกันลูกสาวให้พ้นจากภัยพยันตราย โรคร้าย และมีความสุขในชีวิต
ฮินะมัสทึริเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยเฮอาน(ค.ศ.794-1185) หรือพันกว่าปีมาแล้ว เริ่มในกลุ่มบุคคลชั้นสูง เรียกว่า “โอคุริบินะ” เป็นตุ๊กตาที่ทำจากกระดาษ แล้วนำไปลอยน้ำ เป็นการไล่สิ่งร้ายออกไปจากชีวิตลูกสาว ต่อมาในสมัยเอโดะ(ตั้งแต่ค.ศ.1603) เริ่มมีการทำตุ๊กตาอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เกือบทุกบ้านจะเริ่มจัดวางตุ๊กตาเมื่อเริ่มเข้าฤดูใบไม้ร่วงหรือตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์หรือหลังจากที่ทำพิธี “มาเมมากิ” แล้ว
เมื่อวานนี้ที่บ้านพวกเราได้นำตุ๊กตาทั้งคู่ “ฮินะนินเกียว”ออกมาประดับ ถวายดอกท้อและขนม และทำ “เทะมากิซูชิ” เป็นการรับขวัญลูกสาว ตามปกติหลังจากวางแล้วประมาณ 1 เดือนหรือหลังวันที่ 3 มีนาคมก็จะต้องรีบเก็บตุ๊กตาไว้ เพราะมีคำกล่าวกันว่า หากวางตุ๊กตาทั้งคู่ไว้นาน กลับจะทำให้ลูกสาวแต่งงานหรือออกเรือนช้า แต่ในปีนี้ที่บ้านเพิ่งวางได้แค่สามวัน ลูกๆ เอ่ยขึ้นมาว่า “พรุ่งนี้เราเก็บฮินะนินเกียวกันเถอะ” ได้ยินแล้วรู้สึกเหงาขึ้นมาอย่างจับใจ ลูกจ๋าอายุยังไม่ถึงสิบขวบเลยอย่าเพิ่งรีบออกเรือนเลยนะ อยู่กับพ่อกับแม่นานๆ เหมือนจะเข้าใจหัวอกของพ่อกับแม่ก็วันนี้เอง
3月3日は、ひな祭りです。ひな祭りは、女の子の成長を願って行われる伝統行事です。各家庭でおひな人形を飾って、桃の花や菱餅などをお供えします。ひな人形には、子供の身代わりになって事故や病気から守ってくれるという意味があり、桃の花は厄よけになると信じられています。
ひな祭りの起源は、平安時代の上流社会で行われた上巳の祓いとされ、紙で作った人形を川に流す「送り雛」がありました。その後、江戸時代になり、ひな人形を飾るようになり全国に広がりました。
私の家でも、ひな人形を飾り、桃の花とひなあられを供えました。3月3日を過ぎて長く出しておくと娘の嫁入りが遅くなるという言い伝えもあります。それを知ってか子供達は「明日には片付けましょう」といい出しました。親としては少し寂しいような微妙な気持ちになりました。自分の親の気持ちも少しわかる気がします。